นาย ณรงค์ฤทธิ์ ทัพพลี ชั้นมัธยมปีที่4/5 เลขที่30

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

ลักษณะของคำไทย

คำมูล


คำมูล เป็นคำที่มีความหมายชัดเจนในตัว อาจเป็นคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ เป็นคำไทยแท้หรือคำที่ยืมมาจากภาษาอื่นก็ได้ สำหรับคำมูลที่ยืมมาจากภาษาอื่น ไม่คำนึงว่าคำเดิมเป็นคำที่ประกอบด้วยคำอื่นอยู่ก่อนหรือไม่เมื่อนำมาใช้ใน ภาษาไทยจัดเป็นคำมูลทั้งสิ้น คำมูลหลายพยางค์อาจประกอบด้วยพยางค์ที่ไม่มีความหมายหรือมีความหมายทั้งหมด หรืออาจประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมายกับพยางค์ที่ไม่มีความหมาย แต่อย่างไรก็ดีเมื่อพยางค์ดังกล่าวรวมกันเป็นคำแล้ว ย่อมเกิดความหมายใหม่โดยไม่เกี่ยวเนื่องกับความหมายของพยางค์เดิม อ่านเพิ่มเติม

มหาชาติคำหลวง


คำว่า “มหาชาติ” แปลว่า  พระชาติอันยิ่งใหญ่ หรือ พระชาติที่สำคัญ  หมายถึงเรื่องเวสสันดรชาดก  ซึ่งเป็นเรื่องของพระเวสสันดรโพธิสัตว์  ก่อนที่จะมาประสูติและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ในพระชาตินี้  พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญบารมีครบ ๑๐  ประการ  เรียกว่า  “ทศบารมี”  คือ  ทานบารมี  ศีลบารมี  เนกขัมบารมี  ปัญญาบารมี  วิริยบารมี  อธิษฐานบารมี  สัจจบารมี  ขันติบารมี  เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี  จึงถือว่าเป็นพระชาติสำคัญ  เรียกว่า  “มหาชาติ”  เป็นพระชาติหนึ่งในทศชาติ  พุทธศาสนิกชนถือว่าทศชาตินั้นสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ถึงกับจดชื่อ ย่อของชาดกทั้งสิบไว้ท่องจำเพื่อเป็นสิริมงคล   เรียกว่า  “หัวใจพระเจ้าสิบชาติ”  หรือ  “หัวใจทศชาติ”  เรื่องมหาชาติ  เดิมแต่งเป็นภาษาบาลี  เป็นฉันท์ปัฐยาวัตร  มีทั้งหมด ๑,๐๐๐  คาถา จึงเรียกว่า “คาถาพัน”อ่านเพิ่มเติม

เรื่องย่อ

เริ่มต้นกล่าวถึงมนุษย์และเทวดาได้พยายามค้นหาคำตอบว่า อะไรคือมงคล เป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี พระอานนท์ได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ ณ เชตวันมหาวิหารซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายไว้ ณ เมืองสาวัตถี มีเทวดาองค์หนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในเวลาปฐมยามแล้วได้ทูลถามเรื่องมงคล พระพุทธองค์จึงตรัสตอบถึงสิ่งที่ไม่เป็นมงคล ๓๘ ประการ หลังจากรับฟังเทศนาจบ เหล่าเทวดาก็บรรลุธรรม
มงคลทั้ง ๓๘ ประการ พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นคาถาบาลีเพียง ๑๐ คาถา แต่ละคาถาประกอบด้วย ๓-๕ ข้อ และมีคาถมสรุปตอนท้าย ๑ บท ชี้ให้เห็นเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าปฏิบัติตามมงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการนี้ได้ จะไม่พ่ายแพ้แก่ข้าศึกศัตรูและจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองสืบไป

ความเป็นมา
 เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเนืือหาว่าด้วย มงคล 38 อันเป็นพระสูตร หนึ่งในพระไตรปิฏก พระสุตตันัปิฏก ขุททกนิกาย หมวดขุททกปาฐะ
คำว่ามงคล หมายถง เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้า และ สูตร หมายถึง คำสอนในพระพุทธศาสนา มงคลสูตร จึงหมายความว่า พระธรรมหรือคำสอน ในพระพุทธศาสนาที่จะนำมาซึ่งความสุขและความเจริญก้าวหน้า

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี


          ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  เป็นบทความพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ความเข้าพระทัยในปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนา  เนื่องด้วยชาวนาแต่ละท้องที่ล้วนมีสภาพชีวิตและความทุกข์ยากที่ไม่แตกต่างกันเลย  แม้ว่ากาลเวลาจะผันผ่านไปอย่างไรก็ตาม อ่านเพิ่มเติม